Tuesday, December 15, 2009

external hard drive ที่สวยที่สุดในโลก ?


tablettweet.com ได้ลงรูป Verbatim InSight

ที่ว่ากันว่าได้แรงบันดาลในในการออกแบบมาจาก เปียโนสีดำสนิท
บางทีนี่อาจจะเป็นฮาร์ดดิสที่สวยที่สุดเท่าที่เคยทำกันมา ?

ฮาร์ดดิส สวยๆ มีอีกมั้ยนะ
เดี๋ยวต้องลองไปหาดูหน่อย ;]

Tuesday, July 7, 2009

ย้ายแล้วจ้า tectutors ย้ายแล้วว

ย้ายแล้วจ้า
tectutors ย้ายแล้วว ไปอยู่

http://virtual-me.exteen.com/

มีหัวข้อเด็ดๆมากมาย

รู้จักสถาปนิกระดับโลกในห้านาที
ประสบการณ์เรียนสถาปัตย์ในออสเตรเีลีย
และแน่นอน ในโรงเรียนสถาปัตย์ ว่าด้วย tip talk & technique สู่การเป็นนักเรียนสถาปัตย์
อย่าลืมตามไปอ่านกันนา


Monday, July 6, 2009

ในโรงเรีียนสถาปััตย์บทที่หก เ้ข้าไปดูเว็บไซต์คณะสถาปัตยกรรมทั้งหมดในประเทศไทย

ข้างล่างเป็นรายชื่อมหาวิทยาลัยที่สอนสถาปัตย์ทั้งหมดของประเทศไทยครับ (ลองนับดูได้ 26 มหาวิทยาลัยครับ) ต้องเข้าไปดูเพื่ออัพเดทข่าวสารใหม่ๆ วิธีการรับเข้า เป็นวิธีรับตรง หรือรับผ่าน admission บรรยากาศคณะ การเรียนการสอนต่างๆ เข้าไปดูเสียแต่วันนี้เพื่อความไม่พลาดครับ
copy ไปวางที่ browser หรือคลิกลิงค์ด้่านข้างที่ผมทำไว้ครับ
enjoy ;])

รายชื่อสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านสถาปัตยกรรม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
www.arch.chula.ac.th/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
www.arch.ku.ac.th/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
www.kbu.ac.th/faculty/architec.php
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
arch.kku.ac.th/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
www.arc.cmu.ac.th/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
www.arch.kmutt.ac.th/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวายwww.uthen.rmutto.ac.th/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี www.arch.rmutt.ac.th/
คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ภาคพายัพ chiangmai.rmutl.ac.th/
คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี eng.rmutsb.ac.th/Templates/m1.html
คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา www.ea.rmuti.ac.th/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
www.arch.tu.ac.th/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
www.arch.nu.ac.th/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
www.msu.ac.th/architect/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
www.mju.ac.th/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
http://www.rsu.ac.th/architect/
คณะวิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา
web.rmutr.ac.th/foea/
โปรแกรมสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร
www.pnru.ac.th/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล
www.vu.ac.th/vu2008/art/
สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
arch.wu.ac.th/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
architecture.spu.ac.th/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
www.arch.su.ac.th/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญฯ
www.arch.au.edu/
ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง
www.inded.kmitl.ac.th/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบังwww.arch.kmitl.ac.th/
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันอาศรมศิลป์
www.arsomsilp.ac.th/

เรียนสถาปัตย์ที่ออสเตรเลีย ตอนที่หนึ่ง ทำไมต้องออสเตรเลีย ?



หลายคนถามว่าทำไม่ต้องเป็น ออสเตรเลีย ทำไมถึงเลือก เรียนที่ออสเตรเลีย แล้วออสเตรเลียมีดีอะไร คำตอบคงหนี้ไม่พ้น เรื่องหลักๆสำคัญอยู่ สามสี่เรื่อง


แน่นอน เงิน ที่ซึ่งสำหรับนักเรียนอย่างเราๆแล้วการตัดสินใจจะไปเรียนต่อต่างประเทศทั้งที คงต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยทางการเงินของผู้ปกครองของเรานั้นเอง.......และแน่นอนเค้าคือผู้ร่วมตัดสินใจของเรา “เงิน” ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ควบคู่กับการวางแผนการใช้เงินที่ดี เป็นเรื่องใหญ่ที่เดียวที่เราจะต้องรู้คร่าวๆต่อปีว่าเราจะต้องเสียเงินเท่าไร ไม่ใช่ว่าพอเรียนไปได้ครึ่งปีแล้วถูกเรียนตัวกลับบ้านเพราะเงินหมดเป็นสถานการณ์ที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง!!! เมื่อเทียบกับประเทศอังกฤษ อเมริกา หรือ ประเทศอื่นๆ เช่น อิตาลี ประเทศออสเตรเลีย ถือว่า เรื่องค่าครองชีพนั้นต่ำที่สุด


เทียบกันง่ายๆ ลองดูอัตราค่าเงินกัน เงินออสเตรเลีย ประมาณ 25-29 บาท ต่อ AUS$1 ถูกกว่า ของ อเมริกาเล็กน้อย แต่ถ้าเอาไปเที่ยวกับเงินยูโรแล้ว เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว 60-70 บาท ต่อ ยูโร แต่ถ้าเราคำนวณค่าใช้จ่ายและเวลาในการเรียน มันจะไม่ต่างกันมากเท่าไร แต่สิ่งที่ทำให้เราเครียด เครียดจริงๆนะ เป็นเรื่องการใช้จ่ายในแต่ละวัน ดูเหมือนว่าออสเตรเลียจะดูเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะ คำนวณดูแล้ว เราอาจพูดได้ว่าพอๆกับค่าใช้จ่ายในแต่ละวันอย่างประหยัดหน่อยนะ เทียบได้กับการใช้จ่ายของปกติของคนกรุงเทพฯที่มีค่าครองชีพที่สูงที่สุดในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ อย่าเพิ่งซีเรียส! นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น


“สถาบันที่มีชื่อเสียง” แน่นอนล่ะ คงไม่มีนักเรียนคนไหนอุตสาห์เสียตังค์ ข้ามทะเล ภูเขา แผ่นดิน ไปเรียนสถาบันต่างประเทศที่ไม่มีใครรู้จัก เพื่อจะได้ขึ้นชื่อว่าจบปริญญาจากต่างประเทศ สถาบันที่น่าเชื่อหรืออย่างน้อยพอจะมีชื่อเสียงอยู่บ้าง แม้อาจจะไม่ติดอันดับท๊อปเท็น จะเป็นสิ่งรับรองในอาชีพการทำงานของเราในอนาคต เพราะฉะนั้นต้องเลือกให้ดี ในประเทศออสเตรเลีย ก็มีอยู่ 8 มหาวิทยาลัย ที่เค้ารวมตัวกันเรียกว่า group of eight universities ชั้นนำของประเทศ เท่าที่พอจะรู้แต่ละมหาวิทยาลัยก็มีจุดแข็งอ่อนต่างกันแล้วแต่วิชาที่เลือกเรียน 8 มหาวิทยาลัยที่ว่าก็คือ The University of New South Wales, The University of Sydney, The University of Western Australia, The University of Melbourne, Monash University, The University of Adelaide, The University of Queensland, and The Australian National University. ดูอย่างง่ายก็คือว่า ออสเตรเลียนั้นมีอยู่ รัฐใหญ่ๆอยู่ 6 รัฐ แต่ละรัฐก็มีมหาวิทยาลัยชั้นนำอยู่ หรืออาจะสังเกตง่ายๆจากสัญลักษณ์นี้นะ “สี่เหลี่ยมแปดอัน” รับรองความปลอดภัย


เอาล่ะ มาถึงปัจจัยที่สาม “สภาพแวดล้อม” ใครที่คิดว่า..โอ้ย...เรื่องสภาพแวดล้อมเป็นเรื่องเล็ก เดี่ยวอยู่ไปซักพักก็ปรับตัวได้ อันนี้ก็อาจจะจริงอยู่บ้าง แต่สภาพแวดล้อมันนี่แหละที่มีอิทธิพลต่อเหล่านักเรียนต่างชาติเป็นอย่างมาก แม้ว่าเราคนไทยอย่างเราๆจะชอบอากาศหนาว แต่บางประเทศที่อากาศหนาวจัดๆ ก็ทำเอาเรา “homesick” ได้บ่อยครั้งเหมือนกัน และนั้นก็ร่วมถึงการเรียนเราด้วย และถึงแม้ว่าเราถือว่าเราอยู่มานานเป็นปี แต่จนแล้วจนรอดก็รู้สึกถึงความหนาวเจ็บจับจิตอยู่ดี มีอยู่คนหนึ่งมาจากอังกฤษ เค้าเล่าว่าที่เค้าย้ายมาอยู่ออสเตรเลียก็เพราะที่อังกฤษหนาวมาก เค้าอยากอยู่ในที่อุ่นกว่า ทั้งๆที่คนอังกฤษคนนี้อยู่อังกฤษเกือบครึ่งค่อนชีวิต ก็ยังรู้สึกว่าอังกฤษไม่ได้เป็นสภาพแวดล้อมที่เค้าอยากอยู่


มันก็แล้วแต่แหละว่าเราชอบอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างไร ร้อนแต่อบอุ่นแบบไทย หรือ หนาวเย็น(สั่นๆ)สบายแบบอังกฤษ หรือ ทั้งสองแบบที่ออสเตรเลีย แล้วอย่างไรที่เป็นสภาพแวดล้อมที่เราอยู่แล้วสบายล่ะ? เรื่องนี้ก็ลองถามตัวเองดูแล้วกัน จะว่ากันไปแล้วประเทศออสเตรเลียถือว่าเป็น ประเทศที่อยู่ง่าย คล้ายบ้านเรา อากาศค่อนข้างดีกว่า แต่ถึงหน้าร้อนก็ร้อนน่าดูบางวันร้อนกว่าประเทศไทยเสียอีก แต่ก็มีหน้าหนาวประมาณ4เดือน กำลังดีที่เดียว อาหารการกินก็หลากหลาย สามารถพูดได้ว่าเป็นอาหารนานาชาติก็ว่าได้ เพราะที่นี่นะ เค้าเป็น Multi-culture จ้า แขก ฝรั่ง ไทย เวียดนาม จีน อยู่ร่วมกันก็ลองคิดกันเอาเองว่ามันจะเป็นอย่างไร


ปัจจัยที่สี่ อันนี้ค่อนข้างกว้างมาก เพราะแต่ละคนอาจจะมีเหตุผลต่างกันออกไป บางคนอาจจะไปประเทศที่มี เพื่อน พี่น้อง ครอบครัว ญาติสนิท อาศัยอยู่ก่อนี่ก็เป็นข้อดี หลายอย่างที่เดียว ซึ่งเรื่องนี้จะขอพูดในฉบับถัดไปนะคะ บางคนติดใจประเทศนั้นๆหลังจากกลับมาจากการไปเที่ยว ซึ่งนี่ก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะอะไรไม่ดีไปกว่าการที่เรามีประสบการณ์ด้วยตัวเราเอง อ้าวจริงไหม?

Sunday, July 5, 2009

ในโรงเรียนถาปัตย์ตอนที่ห้า : ห้าปีถาปัดเค้าเรียนอะไรกันบ้าง?

เออ เพื่อนบอกว่าเราเขียนอ่านยาก เหมือนเขียนบทความวิชาการ!!
จะพยายามปรับภาษาลงให้ชิวๆ (ทำได้มั้ยเนาะ) (อะไรกันแส๊ด)

จริงๆแล้วเดี๋ยวนี้หลักสูตรโรงเรียนสถาปัตย์มีหลายแบบนะครับ

มีแบบ ห้าปีได้ปริญญาตรี (b.arch) ส่วนใหญ่จะเน้นการผลิตสถาปนิกอาชีพ เป็น Professinal Degree เพื่อการทำงาน

6ปีได้ ปริญญาโท (4+2) คือเรียนสี่ปีเป็นหลักสูตร์วิทยาศาสตร์บัณฑิต แล้ว อีกสองปี เป็น สถาปัตยศาสตรมหาบัณฑิต(b.sc + m.arch) ส่วนนี้จะเน้นการผลิตสถาปนิกที่สร้างองค์ความรู้ การทำวิจัย หรือหาแนวคิดใหม่ๆไปด้วย

จริงๆแล้วหลักสูตรแต่ละมหาลัยจะไม่เหมือนกันซะทีเดียวนะครับ
แต่ว่าในปัจจุบัน การจะเป็นสถาปนิกได้นั้น การเรียนสถาปัตย์จะถูกรับรองโดย สภาสถาปนิก (ก่อนจะเรียนดูให้ดีนะครับว่ามหาลัยที่สมัครเข้าไปเรียนนั้น ได้การรับรองจากสภามั้ย ถ้าไม่ได้คุณอาจได้ความรู้จริงแต่ว่าไม่สามารถเป็นสถาปนิกได้นะครับ)

เพราะฉะนั้นวิชาหลักๆ ส่วนใหญ่ก็จะมีความเหมือนกันอยู่ประมาณหนึ่ง ขออนุญาติมาเล่าให้ฟังละกัน จากที่ไปเห็นมาหลายๆที่ครับ

ปีหนึ่ง จะเป็นปีที่ปรับตัว นักศึกษาจะได้เรียนรู้ความรู้ขั้นพื้นฐานต่างๆ วิชา fundamental design, fundamental art, painting, sketch, sculpture จะได้หัดจะได้เรียนในปีนี้ อาจมีการเข้าไปใน workshop เพื่อทำการเชื่อมเหล็ก ตัดไม้ สร้างแบบจำลองขนาดเท่าของจริงมาดูกัน แต่ในขณะเดียวกันวิชาตัวนอกคณะก็มีมากมายที่ต้องเรียน eng, math อะไรก็ว่ากันไป

ในเทอมที่สอง อาจจะเริ่มได้ออกแบบบ้านเล็กๆ เพื่อเรียนรู้การจัดเรียงฟังชั่นแบบง่ายๆ, ในบางมหาลัยอาจเริ่มเรียน ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมปีนี้, อ้อ เขียนแบบเบื้องต้นเป็นการหัดเขียนแบบทั่วไป และ การเขียนบ้านหลังเล็กๆ ก็ต้องเรียนในปีนี้เช่นเดียวกัน

ปีนี้จะยังงๆ กับชีวิต ดูจะเป็นนักเรียนถาปัดก็ไม่ใช่เพราะยังไม่ได้ออกแบบอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน จะไปเถียงอาจารย์ก็ไม่รู้จะไปเถียงยังไง ดูจะแบบเค้าให้ทำไรทำหมด ;])

พอขึ้นปีที่สอง วิชาออกแบบจะเริ่มใหญ่ขึ้นอีกนิด เริ่มเป็น functions สองแบบมาอยู่ด้วยกัน บ้านกับคลีนิคเล็กๆ, ตึกแถว ห้องแถว, ร้านเล็กๆ ก็จะได้ลองออกแบบกัน วิชาโครงสร้างก็ต้องเรียนกันแล้ว โครงสร้างเหล็ก, โครงสร้างไม้,เขียนแบบอาคารใหญ่ขึ้น, ประวัติศาสตร์สถาปัตย์หลังจากพูดถึงโซนเมโสโปเตเมีย อาจเข้ามาสู่โซนเอเชียมากขึ้น อาจมีวิชาที่เป็นเทคนิควิธีให้ลง การตัดโมเดล, presentation อื่นๆอีกมากมาย

ปีนี้อาจเริ่มมีความเป็นนักเรียนถาปัดมากขึ้น เริ่มรู้ตัวว่าต้องทำอะไร ต้องเรียนยังไง อาจารย์สั่งเก้าโมงส่งสี่โมงจะทำยังไงให้ทันเวลา ชีวิตเริ่มดี เริ่มรู้จักเพื่อนๆมากขึ้น

ปีที่สาม เริ่มเข้าสู่การผสานเอาแนวคิดกับตัวสถาปัตยกรรมเข้าด้วยกัน วิชาออกแบบจะเป็นพิพิธภัณฑ์ต่างๆ,อาคารเรียน, รีสอร์ทอาคารที่มีลักษณะเป็นพื้นถิ่นไทยประยุกต์ต่างๆ เริ่มมีการเรียนวิชาผังบริเวณ, ออกแบบชุมชน, ผังเมืองวิชาบริหารงานก่อสร้าง, เขียนแบบอาคารขนาดใหญ่ขึ้นเช่น หอพัก, ประมาณราคา วิชานอกคณะมีบ้าง แต่ไม่เยอะมากแล้ว

คุณจะเริ่มว่าง มีเวลาเป็นของตัวเองในการเข้าห้องสมุดค้นหาว่าคุณคือใคร เริ่มรู้แล้วว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ถ้าคนไม่ชอบถาปัดส่วนใหญ่จะรู้ตัวประมาณตอนนี้

ปีที่สี่ ปีสุดท้ายก่อนจะทำวิทยานิพนธ์ ส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนอาคารสูง เริ่มคุยกันแบบผู้ใหญ่เพราะว่าถ้าเป็นคณะอื่นเค้าจะจบกันแล้ว วิชาเทคโนโลยีอาคาร, สถาปัตยกรรมภายใน, ภูมิสถาปัตยกรรม, สถาปัตยกรรมไทย, การปฎิบัติวิชาชีพ ตัวนอกแทบไม่เหลือแล้ว! คุณมีเวลาว่าง ปิดเทอมต้องออกไปฝึกงานกับบริษัทสถาปนิก ได้เรียนรู้การทำงานจริงๆ

ปีห้า ปีสุดท้าย จะอยู่หรือจะไป ! ปีของวิทยานิพนธ์ เป็นปีที่มีโอกาส drop ติด I สูงที่สุด เพราะว่าในเทอมสุดท้ายจะไม่มีวิชาเรียนอีกแล้ว คุณต้องพัฒนาความคิดด้วยตัวคุณเอง ทำมันออกมาเป็นวิทยานิพนธ์ซึ่งมีไม่กี่สาขาวิชาที่ได้ทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาตรี ตอนจบสุดท้ายคุณต้องยืดหยัดชนกับอาจารย์ ต่อสู้ด้วยความคิด เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณพร้อมจะเป็นสถาปนิก เพื่อออกไปทำงานแก่โลกและประเทศชาติต่อไป !

จบแล้วจ้า

Saturday, July 4, 2009

ในโรงเรียนสถาปัตย์ตอนที่สี่ ถึงคนที่สับสนว่าอยากเรียนมั้ย วิศวะ สถาปัตย์ สถาปัตยกรรมภายใน ภูมิสถาปัตย์ ออกแบบอุตสาหกรรม มันต่างกันยังไง?

หลายคนสับสน งงๆ ระหว่างสถาปัตย์ วิศวะ ออกแบบภายใน ออกแบบอุตสาหกรรม และอื่นๆ
ขออธิบายนิดหนึ่งนะครับ

สถาปนิก (architect) คือคนที่ออกแบบอาคาร บ้านที่เราอยู่ ตึกที่เราเรียน ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล สนามบิน ออกแบบที่ว่า คือเข้าไปดูว่า อาคารที่เกิดขึ้นนั้นมันจะมีพื้นที่ใช้งานยังไง ขนาดไหน แต่ละพื้นที่ของการใช้งานมันต่อกันยังไง รูปแบบของตึกนั้น หน้าตามันจะเป็นยังไง ที่ว่างข้างในมันจะเป็นยังไง มันจะสูงๆ โปร่งๆ หรือแคบๆ เล็กๆ เพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้คนที่เข้าไปใช้งานในอาคาร

หน้าที่หลักๆของสถาปนิกคือการสร้างคุณภาพของที่ว่างที่เกิดขึ้นในสถาปัตยกรรม เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์บวกศิลปะ

ในขณะที่ วิศวกร (engineer) จะทำหน้าที่ เอาแบบจากสถาปนิก (หรือคิดด้วยกันขณะออกแบบ) มาทำการคิดเรื่อง โครงสร้าง ว่าแบบที่สถาปนิกออกแบบไป มันต้องมีโครงสร้างยังไง เหล็กกี่เส้น
ความแข็งแรงของเหล็กมีมั้ย ไม่ได้มีสาขาเดียวนะครับ ในอาคารต้องการวิศวกรหลายสาขา น้ำ ไฟ โครงสร้าง และอื่นๆ

เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ วิศวกรได้ออกแบบเหมือนกัน แต่เป็นการออกแบบเชิงโครงสร้าง

ในขณะที่สถาปัตยกรรมภายใน (มัณฑนศิลป์,ตกแต่งภายใน แล้วแต่จะเรียก)
จะเอาพื้นที่ซึ่งสถาปนิกออกแบบ มาคิดต่อให้เกิดคุณภาพที่ดีของการใช้งานเข้าไปอีก
เช่นถ้าสถาปนิกเขียนว่าตรงนี้เป็นโถงสูงสิบสามเมตร
มัณฑนากร (interior architect) จะทำการออกแบบต่อว่ามันควรมีอะไรมาตั้งให้พื้นที่มันไม่ดูหงอยๆ วัสดุที่พื้นมันน่าจะเป็นยังไง มันน่าจะมีเก้าอี้มั้ย อยู่ตรงไหนกี่ตัว รูปแบบไหนดี แสงเป็นแบบไหน คือจะคิดรายละเอียดเพิ่มจากสถาปนิกไปอีกมากในแง่การใช้งานและความรื่นรมย์ของที่ว่าง
เป็นเรื่องความงาม การใช้งานและการออกแบบรายละเอียดเป็นส่วนใหญ่

ส่วนออกแบบอุตสาหกรรม คือคนที่ออกแบบเก้าอี้ โต๊ะ โคมไฟ เป็นจุดย่อยๆ ลงไปอีกทีในอาคาร
แล้วก็ทำขายในตลาดแล้วมัณฑนากรก็จะมาเป็นคนเลือกเอาไปใส่ในพื้นที่ต่างๆอีกที
อันนี้มองเป็นชิ้นๆเลยทีเดียว คนที่ทำแบบนี้เค้าเรียกว่า นักออกแบบ (designer)

อ้อลืมอีกอัน ภูมิสถาปนิก (landscape architect) จะดูพื้นที่ภายนอกอาคาร ว่าพื้นที่ภายนอกอาคารนั้นมันควรจะมี รูปแบบยังไง
ไม่ใช่การจัดสวนนะครับ คล้ายๆ สถาปัตยคือออกแบบภาพรวมของพื้นที่นอกอาคารทั้งหมดว่ามันเป็นยังไง

ถ้าเราลองมาไล่ดูจากใหญ่ไปหาเล็กเราจะเห็นว่า งานผังต่างๆ ที่ยังไม่ใช่อาคารจะเกิดจากนักวางผังหรือภูมิสถาปนิก ส่วนสถาปนิกจะทำงานเป็นภาพกว้างๆ ในการออกแบบอาคาร ในขณะที่วิศวกรทำงานเจาะเรื่องโครงสร้าง ระบบต่างๆในอาคาร มัณฑนากร ทำงานในพื้นที่ซึ่งเกิดมาจากการออกแบบของสถาปนิก เป็นการทำงานในระดับที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคนเป็นอย่างมากเป็นเรื่องการออกแบบรายละเอียด
ส่วนออกแบบอุตสาหกรรมเป็นการออกแบบย่อยไปแต่ละชิ้น สนใจเรื่องพฤติกรรมของคนมากๆ

ก่อนเรียนเลือกให้ดีนะครับ
งานพวกนี้ดูแล้วเหมือนจะคล้ายๆกัน แต่จริงๆแตกต่างกันอย่างมาก
ธรรมชาติของการเรียนความคิดไม่เหมือนกันนะครับ

ถ้าคุณเป็นคนไม่ชอบรายละเอียด แล้วคุณไปเรียน interior คุณตาย
ในขณะที่ถ้าคุณชอบมองภาพใหญ่ๆ พื้นที่ภายนอก คุณไปเรียน industrial คุณก็จะเศร้า
ถ้าคุณคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุด cool แต่ออกแบบไม่ได้เรื่อง คุณไปเรียนถาปัตย์คุณก็จะรู้สึกว่า ฉันมาทำอะไรที่นี่ (วะ)!

ศึกษาให้ดีก่อนไปเรียนครับ

ในโรงเรียนสถาปัตย์ตอนที่สาม อะไรคือพอร์ตโฟลิโอของนักเรียนสถาปัตย์?

ตอนไปสมัครสอบเข้า เค้าจะให้ส่งพอร์ตโฟลิโอ้ไปด้วย
หลายคนก็จะงงว่ามันคืออะไร พอแปลเป็นภาษาไทย
แฟ้มรวบรวม-สะสมผลงาน ยิ่งงงกันไปใหญ่

มันคืออะไรกัน?

จริงๆแล้ว portfilo ไม่ได้ใช้เฉพาะตอนสอบเข้าเท่านั้น สมัครงานคุณก็ต้องใช้
นักเรียนสถาปัตย์ส่วนใหญ่จะมีพอร์ตโฟลิโอ้กันทั้งนั้น (ถ้ามันไม่ขี้เกียจหรือหมดอนาคตไปแล้ว)
ถ้าคุณลองไปถามพี่ๆที่รู้จักหรือที่เค้ามาติวคุณว่าพี่เค้ามีพอร์ตโฟลิโอ้มั้ย ขอดูหน่อยได้มั้ย แล้วเค้าไม่มี
หรือเค้าไม่ได้รวบรวม ทั้งๆที่เค้าอยู่ปีสามปีสี่เข้าไปแล้ว คุณเลิกติวกับเค้าเถอะครับ เค้าชิวเกินกว่าจะเป็นนักเรียนสถาปัตย์แล้ว

ย้อนกลับมา แล้วพอร์ตโฟลิโอนี่มันคืออะไรกัน
มันคือ สื่ออย่างหนึ่งที่ทำให้คนอ่านรู้ว่า คุณเป็นใคร
ในแง่นี้ถ้าเป็นพอร์ตสำหรับจะสมัครเป็นนักเรียนสถาปัตย์
ก็ต้องแสดงให้เห็นว่า คุณมีความสามารถ (แววในตอนที่แล้ว) ยังไงบ้าง เพื่อให้เค้ารับคุณเข้ามาเรียน

ผมเห็นพอร์ตของนักเรียนมัธยมปลายมากมายที่ใส่อะไรมาไม่รู้เยอะแยะในการส่งพอร์ตโฟลิโอ้ รูปไปต่างประเทศ เที่ยวกับครอบครัว (จะเอาคนเคยไปต่างประเทศมาเรียนสถาปัตย์ทำไม) รูปกิจกรรม กีฬาสี ออกแบบ แสตน (โอเคคุณเอนจอยชีวิตม.ปลาย แล้วยังไงต่อ) ใบประกาศมากมาย หนูน้อยพละ มารยาทงาม (มันเกี่ยวอะไรกับการออกแบบ?)

ยังไม่รวมไปถึงการตกแต่งประดับพอร์ตแบบหนูน้อยตั้งใจ ติดรูปดอกไม้ ใส่ปกไม้มีที่ล๊อคกุญแจอย่างดี (ระวังกรรมการไม่เปิดอ่าน ฮ่า!) ที่คุณทำไปมันไม่เกี่ยวกับการแสดงให้เห็น "แวว" ของคุณเลย!

อย่าลีลาเลย ปกดำๆ เรียบๆ ปกขาวๆเรียบๆ หรือกราฟฟิคที่มันดูเป็นคนอยากเรียนเกี่ยวกับศิลปะหรือการออกแบบหน่อย !

ปกคุณควรโชว์ว่า "คุณคือใครในแง่การออกแบบ" ถ้าเป็นประเด็นอื่นๆไร้สาระ เช่นคุณไปยืนริมน้ำตก ถ่ายข้าง fino คันงามไม่ต้องใส่มาหรอกครับ ปกแบบนี้เค้าไม่ดูหรอก ไร้สาระเสียเวลา เสียเงินทอง
เอาแบบเนื้อๆ ขอดูงานคุณดีกว่า ...
หลายๆมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่แล้วจะมีการจำกัดหน้าไว้ชัดเจนว่า คุณส่งพอร์ตไปได้ไม่เกินกี่หน้า
คุณต้องคิดแล้วละ ว่าคุณต้องการแสดงแววด้านไหนให้เค้าเห็นบ้าง

จำได้มั้ยในตอนที่แล้ว

คุณมีความคิดที่น่าสนใจแค่ไหน คุณมีรางวัลอะไรเกี่ยวกับศิลปะหรือการออกแบบมั้ย คุณเคยส่งประกวดเขียนรูป หรือแต่งเพลง หรืออะไรที่มันเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์บ้างมั้ย
เขียนมาในประวัติส่วนตัวให้ชัดเจน
ออกแบบ คุณมีงานออกแบบอะไรบ้าง sketch ที่คุณได้ลองทำมาเป็นยังไงเอามาดูกันหน่อย
(หาคุณยังไม่มีอะไรสักชิ้นเลย แล้วบอกว่าอยากเรียนถาปัตย์เหรอ อะไรนะ คุณอยู่ม.หกแล้วเหรอ เฮ้ยคุณพยายามกว่านี้หน่อยได้ป่าว?)

ทักษะคุณเป็นยังไงบ้าง คุณเคยไปเขียนรูปที่ไหนมาแล้วบ้าง รูปที่คุณเขียนมันมีกี่แบบ สีน้ำ ดินสอ ปากกา เอามาโชว์กันหน่อย และอย่าลืมเอาที่แสดงว่าคุณอยากเรียน "สถาปัตย์" มานะ เขียนรูปน้องหมา ไม่เอา เขียนรูปต้นไม้ คนเหมือนอะไรก็ไม่เอา เอาอาคาร มุมมองแบบสถาปนิกหน่อยสิ !

เนื่องจากเนื้อที่มีจำกัด คุณควรคิดให้ดีว่าแต่ละหน้าคุณต้องการสื่ออะไร ไม่ใช่ปล่อยไปตามเวรกรรม เอางานมาสุมๆ ส่งไปแล้วมาลุ้นว่า ฉันจะติดไม่นะ พระเจ้า! คุณควรจะออกแบบ portfolio ของคุณด้วย อย่างน้อยถ้าคุณไม่ติด คุณก็จะภูมิใจกับมันว่านี่มันงานของฉันทั้งหมด ฉันคิด ฉันทำ และฉันเป็น...

เคยคุยกับรุ่นพี่ท่านหนึ่งเค้าบอกว่า portfolio ของเรา น่าจะเหมือน หนังสือ หรือ magazine ออกแบบที่ดีๆ
การวางหน้า จัดตัวหนังสือ กราฟฟิค theme ในการออกแบบของมันต้องเป็นหนึ่งเดียว เราต้องออกแบบมันทุกหน้า เปิดมามันต้องเชื่อมต่อกันในแง่การออกแบบถ้าถึงตอนนี้แล้วคุณยังนึกไม่ออกว่าผมพูดถึงหนังสือแบบไหน แมกกาซีนอะไร คุณต้องรีบไปเปิดดูแล้วละ แมกกาซีนถาปัตย์มีหลายหัวมากในบ้านเรา

เลือกอ่านและเป็นตัวอย่างให้ดี บางเล่มเค้าเอาไว้ให้คนทั่วไปอ่าน บางเล่มเค้าเจาะให้ designer อ่าน
คุณอยากเป็น designer ใช่มั้ย? เลือกอ่านซะ แต่วันนี้!

ในความคิดของผม การที่จะทำให้งานในพอร์ตโฟลิโอ้มีคุณภาพดีอย่างน้อยคุณต้องใช้เวลาสองปี
กว่าคุณจะค่อยๆเข้าใจเรื่องทฤษฎีศิลปะเบื้องต้น การออกแบบเบื้องต้น กว่าคุณจะฝึกทักษะในการเขียนของคุณให้มีประสิทธิภาพ
ไหนคุณจะต้องเรียนสามัญเพื่อแข้งกับชาวบ้านอีกนับแสน การมาเร่งติวๆ ซักสองสามเดือนมันเป็นไปไม่ได้

อาทิตย์ละครั้งสำหรับเรื่องนี้ ปีหนึ่งมี 52 อาทิตย์
สองปีมี 104 อาทิตย์ คุณต้องคัดงานประมาณ 20 ชิ้นในทักษะที่แตกต่างกัน ที่เหลืออีก ประมาณ80ชิ้นเป็นแค่การฝึกมือ

มันหนักหนาไปมั้ย เรียกร้องมากเกินไปหรือเปล่าสำหรับการจะสอบเข้า จะไปเรียน
ใช่มันดูเหนื่อย ใช่ชีวิตมันแย่

แต่ถ้าคุณอยากจะได้มันจริงๆ คุณต้องหยุดบ่นแล้วเริ่มทำได้แล้ว